ประเภทของสิทธิ


หลายคนสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างประเภทของสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่ง ทั้งนี้ผู้เขียนได้นำมาใส่ไว้ในตาราง แยกประเภทเผื่อจะทำให้มีความชัดเจนขึ้นมาอีกสักนิดว่า สิทธิประเภทไหนที่เหมาะกับเจตนาของคู่สัญญา

ประเภท สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เช่า
ลักษณะของสิทธิ เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป เป็นสิทธิเหนือบุคคลใช้ยันได้แก่คู่สัญญา ทายาทหรือผู้สืบสิทธิของลูกหนี้เท่านั้น
การก่อตั้งสิทธิโดยสัญญา ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่าเกินกว่า ๓ ปีต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
คู่สัญญา เจ้าของที่ดินกับผู้อาศัย เจ้าของที่ดินกับผู้ทรงสิทธิ เจ้าของที่ดินกับผู้ทรงสิทธิ เจ้าของที่ดินกับผู้รับประโยชน์ เจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครอง (ผู้ให้เช่า) กับบุคคลอื่น (ผู้เช่า)
ระยะเวลาใช้ประโยชน์ ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้อาศัย ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์ ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ให้เช่าหรือผู้เช่า
สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดตามกฎหมายโดยทั่วไป ๑.มีสิทธิอยู่ในโรงเรือนโดยไม่เสียค่าเช่า๒.ผู้อาศัยต้องดูแลรักษาทรัพย์ด้วยค่าใช้จ่ายตัวเอง๓.โอนไม่ได้แม้ทางมรดก ๑.มีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน๒.กำหนดค่าเช่าได้๓.โอนหรือรับมรดกกันได้ ๑.มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สิน๒.อาจโอนสิทธิได้ ๑.ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้๒.ไม่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินแต่มีสิทธิทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อรักษาและใช้ทรัพย์สินโดยเสียค่าใช้จ่ายเองหากเจ้าของทรัพย์ได้ประโยชน์ด้วยต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วน๓.จะใช้สิทธิเพื่อให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ทรัพย์ไม่ได้๔.อาจโอนสิทธิได้ ๑.มีหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สิน๒.ต้องให้ผู้ให้เช่าเข้าตรวจดูทรัพย์สิน๓.ผู้เช่าตายสัญญาเช่าระงับเว้นแต่ตกลงเป็นอย่างอื่น

หลังจากเห็นความแตกต่างระหว่างประเภทของสิทธิแล้วนั้น คู่สัญญาสามารถเลือกประเภทของสิทธิให้ตรงกับเจตนาของคู่สัญญาในการเข้าทำนิติกรรมนั้นๆได้