โดยส่วนใหญ่แล้วนิติบุคคลได้ถูกจัดตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทจำกัดเพราะจะทำให้บริษัทดูน่าเชื่อถือ และบางครั้ง การทำนิติกรรมต่างๆกับบุคคลภายนอกก็มีความจำเป็นต้องทำในรูปแบบนิติบุคคลระหว่างกัน ดังนั้นทำให้สถิติใน การจดทะเบียนประเภทบริษัทจำกัดมีเพิ่มมากขึ้น ลองมาดูกันโดยคร่าวๆซิว่าเราต้องทำอย่างไรบ้างก่อนที่จะได้มี บริษัทจำกัด และมีอะไรบ้างที่เราควรต้องรู้ก่อนและหลังการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- ๑. ต้องมีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย ๓ คน
- ๒. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน โดยที่มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า ๕ บาท
- ๓. ในการจัดตั้งบริษัทนั้นหากได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือ
- บริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวกันก็ได้
- จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
- ประชุมจัดตั้งบริษัท เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
- ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท และกรรมการบริษัทได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบหน้าของหุ้นที่ได้จองไว้ก็ได้ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นได้ชำระเงินค่าหุ้นตามที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว
และเมื่อบริษัทได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย อาทิ
- ๑. ป้ายชื่อ ดวงตรา และเอกสารของบริษัทจำกัดต้องมีคำว่า “บริษัท” ไว้หน้าชื่อ และคำว่า “จำกัด” ไว้ท้ายชื่อ
- ๒. จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายใน ๖ เดือนนับแต่วันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและครั้งต่อไปอย่างน้อย ๑ ครั้งทุกระยะเวลา ๑๒ เดือน
- ๓. จัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้น จัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น และจัดทำบัญชี
- ๔. กรรมการบริษัทต้องจัดให้มีการจดบันทึกรายงานการประชุม และเก็บรักษาสมุด
- ๕. หากมีการแก้ไขเพิ่มเติม ต้องยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรอีกด้วย