เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์สินของเจ้ามรดกซึ่งเรามักเรียกว่ากองมรดก เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร เป็นต้น ย่อมตกเป็นของทายาททันที และในกรณีที่บิดามารดา คู่สมรส บุตร ญาติและพี่น้องมีข้อขัดข้องในการ จัดการมรดก ทายาทโดยธรรมเหล่านี้หรือผู้รับพินัยกรรม หรือผู้มีส่วนได้เสีย สามารถยื่นคำร้องขอจัด การมรดกของผู้ตายได้
โดยผู้จัดการมรดก คือบุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งให้เป็นผู้จัดการมรดกเพื่อทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก คุณสมบัติของผู้จัดการมรดกนั้น คือ เป็น บุคคลบรรลุนิติภาวะ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
เอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดการมรดก อาทิ หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้อง กับผู้ตาย มรณบัตร ทะเบียนบ้าน หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์มรดก หนังสือแสดงความยินยอม พินัยกรรม ใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล เป็นต้น และยื่นต่อศาลที่ผู้ตายมีภูมิลำเนาในขณะถึงแก่ความตาย
โดยทั่วไปแล้วศาลจะนัดไต่สวนคำร้องประมาณ 45 วันนับแต่วันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการ มรดก และหากไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลจะได้ไต่สวนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดกในวันเดียวกันนั้นเลย