หลายคนสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างประเภทของสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่ง ทั้งนี้ผู้เขียนได้นำมาใส่ไว้ในตาราง แยกประเภทเผื่อจะทำให้มีความชัดเจนขึ้นมาอีกสักนิดว่า สิทธิประเภทไหนที่เหมาะกับเจตนาของคู่สัญญา
ประเภท | สิทธิอาศัย | สิทธิเหนือพื้นดิน | สิทธิเก็บกิน | ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ | เช่า |
---|---|---|---|---|---|
ลักษณะของสิทธิ | เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป | เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป | เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป | เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินใช้ยันได้แก่บุคคลทั่วไป | เป็นสิทธิเหนือบุคคลใช้ยันได้แก่คู่สัญญา ทายาทหรือผู้สืบสิทธิของลูกหนี้เท่านั้น |
การก่อตั้งสิทธิโดยสัญญา | ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ | ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ | ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ | ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ | เช่าเกินกว่า ๓ ปีต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ |
คู่สัญญา | เจ้าของที่ดินกับผู้อาศัย | เจ้าของที่ดินกับผู้ทรงสิทธิ | เจ้าของที่ดินกับผู้ทรงสิทธิ | เจ้าของที่ดินกับผู้รับประโยชน์ | เจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครอง (ผู้ให้เช่า) กับบุคคลอื่น (ผู้เช่า) |
ระยะเวลาใช้ประโยชน์ | ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้อาศัย | ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ | ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ | ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์ | ไม่เกิน 30 ปีต่ออายุได้อีกไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้ให้เช่าหรือผู้เช่า |
สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดตามกฎหมายโดยทั่วไป | ๑.มีสิทธิอยู่ในโรงเรือนโดยไม่เสียค่าเช่า๒.ผู้อาศัยต้องดูแลรักษาทรัพย์ด้วยค่าใช้จ่ายตัวเอง๓.โอนไม่ได้แม้ทางมรดก | ๑.มีสิทธิเป็นเจ้าของโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน๒.กำหนดค่าเช่าได้๓.โอนหรือรับมรดกกันได้ | ๑.มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สิน๒.อาจโอนสิทธิได้ | ๑.ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้๒.ไม่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินแต่มีสิทธิทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อรักษาและใช้ทรัพย์สินโดยเสียค่าใช้จ่ายเองหากเจ้าของทรัพย์ได้ประโยชน์ด้วยต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วน๓.จะใช้สิทธิเพื่อให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ทรัพย์ไม่ได้๔.อาจโอนสิทธิได้ | ๑.มีหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สิน๒.ต้องให้ผู้ให้เช่าเข้าตรวจดูทรัพย์สิน๓.ผู้เช่าตายสัญญาเช่าระงับเว้นแต่ตกลงเป็นอย่างอื่น |
หลังจากเห็นความแตกต่างระหว่างประเภทของสิทธิแล้วนั้น คู่สัญญาสามารถเลือกประเภทของสิทธิให้ตรงกับเจตนาของคู่สัญญาในการเข้าทำนิติกรรมนั้นๆได้